การสื่อสารทุกชนิดจะต้องอาศัยสื่อกลางในการสื่อสารเพื่อทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ซึ่งสื่อกลางของการสื่อสารข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สื่อกลางประเภทสายสัญญาณ

2. สื่อกลางประเภทไร้สาย

1. สื่อกลางประเภทสายสัญญาณ

สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair)  มีลักษณะเป็นสายส่งสัญญาณทองแดงถูกจับพันกันเป็นเกลียวตามมาตรฐานจำนวน 4 ฉู่สาย เพื่อช่วยลดการรบกวนของดลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ทั้งจากภายในสายและภายนอกสาย ซึ่งสายคู่บิดเกลียวมี 2 ประเภท ได้แก่ สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair: STP)และสายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair: UTP) ในปัจจุบันการติดตั้งสายสัญญาณนเทอร์เน็ตภายในอาคารบ้านเรือนนิยมใช้สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้มเป็นหลัก เพราะมีราคาถูกกว่าสายบิด-เกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม

สายโคเเอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายนำสัญญาณที่รู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี   ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวน เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากทองแดงถักเป็นร่างแห  เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ก่อนหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก  และนิยมใช้เป็นสายนำสัญญาณแอนะล็อก เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ ภาพและเสียง (audio-video devices) ต่าง ๆ ภายในบ้านและสำนักงาน

สายไฟเบอร์ออฟติก (fiber – optic cable)  ประกอบด้วย  กลุ่มของเส้นใยทำจากแก้ว หรือพลาสติก  ที่มีขนาดเล็กประมาณเส้นผม   แต่ละเส้นจะมีแกนกลาง (core)  ที่ถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า แคล็ดดิง (cladding) และหุ้มอีกชั้นด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระแทกและฉีกขาดการส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้ 

2. สื่อกลางประเภทไร้สาย

1. อินฟาเรด (Infrared) สื่อกลางประเภทนี้มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่ง และตัวรับสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ  

คลื่นวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ (broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ  และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่าง ๆ กันในการส่งข้อมูล  เช่น การสื่อสารระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM) และเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM)  หรือการสื่อสารระยะใกล้ โดยใช้ไวไฟ (Wi-Fi) และบลูทูท (Bluetooth)

ไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารทีมีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล โดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศ พร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง  และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้   จึงต้องมีการตั้งสถานีรับส่งข้อมูลเป็นระยะ   และส่งข้อมูลต่อกัน  ระหว่างสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทางและแต่ละสถานีจะตั้งอยู่บนที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง  การส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมาก ๆ สามารถวางห่างกันได้ถึง 80 กิโลเมตร ตัวอย่างการส่งสัญญาณไมโครเวฟผ่านพื้นผิวดิน

ดาวเทียมสื่อสาร พัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับส่งไมโครเวฟบนผิวโลกโดยเป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ ในการส่งสัญญาณต้องมีสถานีภาคพื้นดิน คอยทำหน้าที่ รับส่งสัญญาณ ขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจร อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ  35,600 กิโลเมตร

แบบฝึกหัดที่ 7

ที่มา หนังสือเรียน เทคโนโลยี วิทยาการคำนวน ม.2 อักษรเจริญทัศน์ อจท.