1. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            2. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            3. สื่อกลาง (Media)
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
            5. โปรโตคอล(Protocol)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบการสื่อสารข้อมูล

ตัวอย่างของการสื่อสารข้อมูล
 
        “เอได้ Line ไปคุยกับบีที่ประเทศจีน เรื่องที่บีจะมาถ่ายทำภาพยนต์ในประเทศไทยสัปดาห์หน้า” 
การคุย Line ระหว่างเอและบี เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสาร ซึ่งมี
        ผู้ส่งสาร คือ เอ  
        ผู้รับสาร คือ บี 
        สื่อกลาง คือ สัญญานอินเตอร์เน็ต
        ข้อมูล คือ ข้อมูลข่าวสารที่ทั้งสองได้คุยกันเรื่องที่บีจะมาถ่ายภาพยนต์ในสัปดาห์หน้า
        โปรโตคอล คือ ภาษา เพราะทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ 

พัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล

 

 

      เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งแต่เพียงผู้เดียว และผู้รับทำหน้าที่ รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว
ข้อดีคือ ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา
แต่ผลเสียคือ ผู้รับข้อมูลอาจ ไม่ได้รับข้อมูลที่ส่งไป และผู้ส่งข้อมูลจะไม่ทราบว่าผู้รับได้รับหรือไม่ ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว เช่น การฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ และการฟังเสียงประกาศ

   

 

 

    เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ผู้สื่อสารจะผลัดกันเป็นผู้รับและผู้ส่งข้อมูล โดยในขณะที่มีการสื่อสารข้อมูล ผู้รับข้อมูลจะต้องรอให้ผู้ส่งส่งข้อมูลเสร็จสิ้นก่อนจึงจะสามารถส่งข้อมูลได้ การสื่อสารข้อมูลประเภทนี้ นิยมใช้ในเฉพาะกลุ่ม ได้แก่วิทยุสื่อสาร (Radio Communication)

 

 

 

 

 

    ผู้สื่อสารสามารถส่งข้อมูลโต้ตอบกันได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ผู้ส่งข้อมูล เสร็จก่อน ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน เช่น การคุยโทรศัพท์ การแชท